เมื่อไม่นานมานี้ สาวไทยคนหนึ่งอาศัยอยู่ทางภาคอีสานของประเทศไทยได้บอกกับหนังสือพิมพ์นิวยอร์คโพสต์ว่า ชีวิตของเธอกับสามีชาวอเมริกันที่เกษียณอายุแล้วนั้น เป็นดั่งฝั่นที่เป็นจริง แต่ทว่าการแต่งงานแบบนี้ต้องเจอบททดสอบอะไรบ้างไหม
ผู้ชายอเมริกันใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุกับภรรยาชาวไทยที่เมืองไทยมากขึ้นเรื่อยๆ กระแสนี้เป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในภาวะถดถอยที่อเมริกาเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานชี้ว่าการแต่งงานระหว่างสาวไทยกับคู่สมรสชาวต่างชาติในภาคอีสานของไทยนั้น อาจมีความยากลำบากบ้าง เนื่องจากการแต่งงานในลักษณะดังกล่าวมีอัตราการหย่าร้างที่สูงกว่าการแต่งงานโดยทั่วไปในประเทศไทย แต่อัตราดังกล่าวนั้นต่ำกว่าอัตราการหย่าร้างที่อเมริกาในช่วงนี้อย่างมาก คุณโฮวาร์ดจากเมืองซานดิเอโก้ ซึ่งเป็นสมาชิกของ ThaiLoveLines และอาศัยอยู่ที่เชียงใหม่กับแฟนสาวชาวไทย กล่าวว่า แน่นอนครับ ความสัมพันธ์บางครั้งก็ไม่เวิร์ค แต่ผมคิดเสมอว่าความสัมพันธ์ของผมเองนั้นมันดีมากเกินกว่าที่จะเป็นจริง แต่โดยรวมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายอเมริกันกับสาวไทยก็ลงตัวดี ผมได้เจอกับคู่รักที่น่ามหัศจรรย์หลายคู่ ซึ่งพวกเค้าก็อยู่ด้วยกันที่นี่มานานเป็นสิบๆ ปีแล้ว ผมไม่ค่อยเจอเรื่องแบบนี้มากเท่าไหรที่ประเทศของผม'
ผู้เขียนได้อธิบายว่าปัญหาเกิดจากความขัดแย้งของเหตุผลที่แต่งงานกัน และบางส่วนเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้ชายอเมริกันต้องพิจารณาเหตุผลที่ตนแต่งงานกับสาวไทยและเหตุผลที่สาวไทยแต่งงานกับชาวอเมริกันที่มีอันจะกินและเกษียณอายุแล้ว อย่างไรก็ตามการแต่งงานดังกล่าวไม่ได้เป็นเหตุผลที่ผิดไปทั้งหมด และหลายๆ คู่ส่วนใหญ่ก็ยังอยู่กันยาวนานแม้ว่าจะมีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นบ้างก็ตาม
ผู้ชายอเมริกันเกษียญอายุที่เมืองไทยกับภรรยาชาวไทย
มันกลายเป็นเรื่องปกติที่ผู้ชายอเมริกัน มาเกษียณอายุที่เมืองไทย และแต่งงานกับภรรยาชาวไทย ผู้ชายเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพ่อหม้ายที่เห็นว่าผู้ชายที่แก่กว่าแต่งงานกับสาวไทยที่อายุยังน้อยนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในประเทศไทย โดยไม่โดนสังคมตราหน้าเรื่องความแตกต่างของอายุอย่างที่อเมริกา นอกจากนี้ยังพบอีกว่าเงินที่ได้รับจากการเกษียณอายุนั้นทำอะไรได้มากขึ้นเมื่ออยู่ในประเทศที่ค่าครองชีพค่อนข้างต่ำ
จากผลสำรวจของ ThaiLoveLines พบว่า จากผู้ชายอเมริกัน 340 คนที่พบคู่ชีวิตชาวไทย, 67 คน วางแผนที่จะย้ายไปใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศไทยภายในหนึ่งปีนี้ การสำรวจนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจกลางปีเกี่ยวกับการแต่งงานระหว่าง ผู้ชายอเมริกันกับสาวไทย , แต่ตาม ThaiLoveLines, 'ข้อเสียคือเราพบว่าอัตราการหย่าร้างของคู่ที่มีลักษณะเช่นนี้ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น'
สาวไทยหลายคนดูทางทีวีและหนังแล้วมีฝันที่อยากจะมีชีวิตแบบชาวอเมริกัน ทำให้ปรารถนาอยากเป็นแบบนั้นบ้าง นอกจากนี้พวกเธอยังเห็นสาวไทยคนอื่นๆ พบรักกับคู่ชีวิตชาวอเมริกัน จึงอยากได้แบบนั้นบ้าง
คุณนุ้ย เดวิสเล่าว่า ตอนที่เป็นเด็ก เธอเห็นสาวไทยที่มีสามีชาวต่างชาติมาเยี่ยมหมู่บ้านของเธอ ใส่เสื้อผ้าดีๆ เอาขนมมาให้เด็กๆ กิน: 'สำหรับฉัน พวกเธอเหมือนเจ้าหญิง' เธอกล่าว 'และฉันก็จดจำภาพเหล่านั้นเอาไว้ และก็หวังว่าวันหนึ่งฉันจะได้เป็นหนึ่งในนั้นบ้าง'
ทำไมคนอเมริกันชอบสาวไทย
ตอนนี้เธอได้เป็นแล้ว (ในทางทฤษฎี) เธอแต่งงานกับสามีชื่อคุณ โจเซฟ เดวิส จากแคลิฟอร์เนีย เค้าเป็นเจ้าหน้าที่กองทัพเรือที่เกษียณอายุแล้วและเคยหย่าร้างมาแล้ว 2 ครั้ง ครอบครัวของเธอพร่ำบอกเธอว่าในที่สุดฝันของเธอก็เป็นจริง แต่ก็อย่างที่เห็น ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นของ ผู้ชายอเมริกันกับเจ้าสาวคนใหม่ชาวไทย , คุณโจ วัย 54 ปี ตัดสินใจที่จะไม่อยู่ที่แคลิฟอร์เนียกับภรรยาของเค้า แต่จะย้ายมาอยู่ประเทศไทยแทน ทั้งสองอยู่ด้วยกันในบ้านติดแอร์อย่างดี ซึ่งก็คล้ายๆ กับบ้านสไตล์ตะวันตกในเมืองไทยที่เป็นเหมือนโอเอซิสแห่งความมั่งคั่งแวดล้อมไปด้วยบ้านของคนจน
คุณเดวิสเล่าว่า: สาวไทยเหมือนกับสาวอเมริกันเมื่อ 50 ปีก่อนมาก ก่อนที่พวกเธอจะกลายเป็น ผู้หญิงหัวแข็งและถือความคิดของตนเองเป็นใหญ่'
ผู้ชายอเมริกันหลายคนลังเลกับการตัดสินใจที่จะหาภรรยาจากต่างประเทศและมาที่ประเทศไทยด้วยความตั้งใจที่จะพบ รักแท้ ผู้ชายอเมริกันส่วนใหญ่รู้ว่าฐานะทางการเงินดึงดูดให้สาวไทยหลายๆ คนแต่งงานกับผู้ชายอเมริกัน คุณจอห์น ฟอร์เดอร์ ชาวอเมริกันที่ทำงานกับ UN funded programme ทางภาคอีสานของประเทศไทย อธิบายวิธีการนี้ว่า แฟร์ สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจคือมันมีฐานะทางการเงินเป็นสิ่งจูงใจ แต่นอกเหนือไปกว่านั้น ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างมากมาย สาวไทยหลายคนชอบผู้ชายอเมริกันอยู่แล้วและต้องการเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอเมริกัน ตัวอย่างเช่น สาวไทยหลายๆ คนไม่คิดว่าการแต่งงานกับผู้ชายที่แก่กว่าขนาดนี้เป็นเรื่องเสียหาย ยิ่งไปกว่านั้น หากคุณจำได้ว่าสาวไทยส่วนมากไม่อยากแต่งงานกับชาวต่างชาติ แต่สาวไทยที่แต่งงานกับผู้ชายชาวอเมริกันนั้นมาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจนหรือหย่าร้างมาก่อน พวกเธอดูแลสามีและครอบครัวอย่างเต็มที่เพื่อตอบแทนกับความมั่นคงทางการเงินที่พวกเธอต้องการมาก ที่จริงแล้ว มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ครอบครัว ซึ่งทำผู้ชายอเมริกันหลายคนที่ประสงค์จะใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุที่เมืองไทยกับเจ้าสาววัยละอ่อนนั้นต้องอึ้งกับวัฒนธรรมนี้
สิ่งที่ผู้ชายหลายๆ คนไม่เข้าใจคือ เมื่อแต่งงานกับ เจ้าสาวชาวไทย, เค้าต้องแต่งงานกับครอบครัวของเธอด้วย ตามวัฒนธรรมของไทย (และของประเทศในเอเชียส่วนใหญ่) สามีและภรรยาต่างก็มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบด้านการเงินต่อพ่อแม่ ปู่ย่าตายายและสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวของฝ่ายเจ้าสาวที่ต้องการความช่วยเหลือทางการเงิน นี่เป็นเพียงหนึ่งในหลายเหตุผลที่ทำให้อัตราการหย่าร้างระหว่างสาวไทยกับผู้ชายชาวต่างชาติที่ย้ายมาอยู่ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น อีกสาเหตุหนึ่งคือความเข้มงวดของกฎหมายที่ดินของประเทศไทย ทำให้ชาวต่างชาติยากที่จะถือครองที่ดินในประเทศไทย มันหมายความว่าชาวอเมริกันบางคนต้องพึ่งพาญาติๆ ชาวไทย สำหรับการถือครองที่ดินในประเทศไทย เค้ากล่าว
ไม่ใช่แค่เพียงผู้ชายอเมริกันเท่านั้นที่อยากย้ายมาอยู่เมืองไทยกับเจ้าสาววัยละอ่อน ผู้ชายจากชาติต่างๆ เกือบ 11,000 คน อาศัยอยู่ที่อีสานเหมือนกับคุณโจ แรงดึงดูดนั้นไม่ได้มาจากเพียงแค่สาวไทยที่สวยและแปลกใหม่ แต่ยังเนื่องมากจากค่าครองชีพที่ต่ำ รวมถึงตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า สาวไทยว่านอนสอนง่าย เชื่อฟังสามี
ความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้ชายกับภรรยาชาวไทย
นอกเหนือจากความกดดันของการแต่งงานที่เนื่องมาจากปัญหาเกี่ยวกับภาระทางการเงินของครอบครัวแล้ว สาวไทยยังไม่พอใจกับการที่พวกเธอไม่มีสิทธิมีเสียงใดๆ ความตึงเครียดจึงเกิดกับคู่แต่งงานหลายๆ คู่ เนื่องมากจากความแตกต่างระว่างความคาดหวังและความเป็นจริง คนอเมริกันหลายๆ คนหรือชาวต่างชาติลืมไปว่า กฎหมายของไทยให้เข้าข้างภรรยาไทย มันเป็นประเพณีไทยที่รู้กันว่าภรรยาต้องดูแลสามีอย่างดี แต่หากสามีชาวต่างชาติทำผิดต่อภรรยาหรือล้ำเส้นไป มันไม่ดีเอาเสียเลย อย่างไรก็ตามผู้ชายอเมริกันส่วนใหญ่ที่มาอยู่ที่นี่ล้วนแล้วแต่เป็นสุภาพบุรุษ โดยเฉพาะคนที่มีอันจะกิน'
ส่วนมากผู้ชายหลายคนที่ตัดสินใจย้ายมาอยู่เมืองไทยเคยหย่าร้างครั้งนึงหรือมากกว่านั้นมาก่อน และไม่จำเป็นต้องหาภรรยาที่อ่อนข้อให้ เพียงแค่ต้องการคนที่มีหัวใจผูกกัน พวกเค้าเกษียณกันแล้วและก็ไม่มีความสุขกับความสัมพันธ์ในอดีต พวกเค้าจึงหวังว่าพวกเค้าจะได้มาพบความสัมพันธ์ที่มั่นคงกับสาวสวยชาวไทย
ในทางตรงกันข้าม สำหรับสาวไทยแล้ว ข้อตกลงมุ่งเน้นไปที่เรื่องเงิน นี่เป็นฝันร้ายจริงๆ สาวไทยเหล่านี้ ซึ่งในอดีตมักถูกกล่าวถึงในเรื่องเสียๆ หายๆ เกี่ยวกับการให้บริการทางเพศ แต่งงานกับผู้ชายเช่นชาวอเมริกันที่เกษียณอายุและแก่กว่าที่เคยฝันเอาไว้ เพื่อเหตุผลทางการเงินและหลีกหนีชะตาชีวิตของตัวเอง พวกเธอต้องการเงิน และเมื่อแต่งงาน พวกเธอก็จะได้จับจ่ายใช้สอยได้สบาย สามีกลายเป็นสองรองจากบัตรเครดิต ในขณะที่ภรรยาพยายามยกระดับฐานะทางสังคมของตนเอง และเมื่อไหรก็ตามที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการช่วยเหลือครอบครัวของภรรยาสาวไทย สถานการณ์ก็ยิ่งย่ำแย่เกินรับได้
สามีบางคนต้องให้สินสอดหลายพันดอลลาร์จากเงินเกษียณของตน การแต่งงานแบบนี้ แต่ละคนก็มีเหตุผลที่แต่งงานกันแตกต่างกันไป แต่ก็ไม่มีเหตุผลใดที่มาจากรักแท้ ซึ่งก็เหมือนกับว่าตกม้าตายตั้งแต่ตอนต้นซะแล้ว
ปัญหาทางด้านวัฒนธรรมและภาษา
อย่างไรก็ตาม มันก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป และการแต่งงานระหว่างผู้เกษียณอายุชาวอเมริกันกับสาวไทยส่วนใหญ่นั้นค่อนข้างประสบความสำเร็จ บางคู่ก็ก้ำๆกึ่งๆ อย่างเช่นระหว่างคุณเดนนิส โซเร็นเซ็น อาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่เกษียณอายุแล้ววัย 63 ปี กับคุณเพ็ญนภาวัย 31 ปี พวกเค้ามักมีปัญหาตอนที่เค้าไม่มีเงิน ต้องรอรับเงินบำนาญรอบใหม่ ปัญหาเนื่องมาจากต้องเอาเงินไปดูแลครอบครัวของเธอ
คู่นี้ที่ยังมีปัญหาเรื่องภาษา แม้ว่าผ่านมาแล้วถึง 8 ปี แต่โดยรวมชีวิตแต่งงานก็ยังมั่นคงดี เคยมีข่าวว่าพวกเค้าเลิกกันเพราะว่าปัญหาทางการเงินและอุปสรรคด้านภาษา โดยเฉพาะเมื่อต่างฝ่ายต่างไม่พยายามที่จะเรียนรู้วัฒนธรรมของอีกฝ่าย แม้กระนั้นชีวิตแต่งงานระหว่างสาวไทยกับชายชาวต่างชาติกลับมองว่าการได้เจอวัฒนธรรมใหม่ๆ เป็นเรื่องดี และทำให้พวกเค้ามีความรักที่แข็งแกร่งขึ้น และรักกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้พวกเค้ามองข้ามปัญหาเหล่านั้นไปได้
สำหรับคู่ที่แต่งงานกันเพราะความรัก อัตราการหย่าร้างต่ำ เนื่องจากไม่ต้องสงสัยเลยว่าภรรยาชาวไทยจะอุทิศชีวิตเพื่อลูกและสามีของพวกเธอ และทำทุกวิถีทางที่ทำให้พวกเค้ามีความสุข อย่างไรก็ตาม การอยู่ที่ประเทศไทยทำให้ไม่สามารถละทิ้งภาระความรับผิดชอบทางด้านการเงินกับครอบครัวของพวกเธอ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องประหลาดมากสำหรับวิถีชีวิตแบบอเมริกัน ผมคิดว่ามันน่าทึ่ง คนอเมริกันหลายคนมาที่นี่ทั้งๆ ที่รู้ว่าเงินดึงดูดสาวไทย แม้ว่าพวกเธอเป็นคนดีพวกเค้าเพียงแค่อารมณ์เสียกับวัฒนธรรมไทยที่หวังให้พวกเค้าต้องช่วยเหลือครอบครัวของพวกเธอด้วย วัฒนธรรมตะวันตกเน้นที่รักแท้ระหว่างคู่รักโดยไม่สนใจคนอื่นๆ ในสังคม แต่คนไทยคิดไม่เหมือนกัน ผมเองยังสรุปไม่ได้ว่าอะไรถูกต้อง'
ความลำบากอีกอย่างหนึ่งที่คนอเมริกันที่ใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุในเมืองไทยต้องเจอคือการยื่นแบบเสียภาษี อเมริกาเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่ให้คนอเมริกันที่ไปอยู่ต่างประเทศยังคงต้องยื่นแบบเสียภาษีแบบเดียวกันกับถ้าพวกเค้ายังคงอยู่ในอเมริกา เนื่องจากว่าประชาชนชาวอเมริกามีหน้าที่ต้องเสียภาษีจากรายได้ทั่วโลกโดยไม่สนใจว่าแหล่งเงินได้มาจากที่ใดหรืออาศัยอยู่ที่ไหน อย่างไรก็ตามนี่ไม่เป็นปัญหากับผู้ชายอเมริกันที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย . คุณโฮวาร์ดจากเมืองซานดิเอโก้บอกว่า: 'ผมมีผู้สอบบัญชีที่ผมโทรศัพท์ปรึกษาหลายๆ ครั้งต่อปีแต่ตอนนี้ส่วนใหญ่อีเมล์' แม้กระนั้นเงินในประเทศไทยก็ทำอะไรได้มากกว่าที่อเมริกา ขึ้นอยู่กับสถานะการณ์ของครอบครัวของภรรยา!
ท้ายที่สุดแล้ว ความสัมพันธ์ของแต่ละคู่นั้นเป็นเรื่องส่วนบุคคล คุณฟอร์เดอร์บอกว่า: 'มันขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีจิตใจที่ดีหรือไม่ ถ้ามี ความสัมพันธ์นั้นไม่เพียงแต่จะคงอยู่ยาวนานแต่ยังเป็นการผจญภัยต่างวัฒนธรรมที่งดงาม อย่างไรก็ตาม เราเห็นสาวไทยแต่งงานกับผู้ชายอเมริกันและชาติอื่นๆ มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างของการผสมกันแบบผิดๆ โดยเฉพาะเรื่องที่สาวไทยนั้นยังเด็กมากในขณะที่สามีชาวต่างชาตินั้นแก่กว่า และเรื่องที่การขัดสนเงินหรือเมื่อมีความกดดันทางการเงินเกิดขึ้น'