ผู้ชายอังกฤษที่มีภรรยาชาวไทยควรสร้างเครือข่ายต่อกันเพื่อปรับปรุงระบบการขอวีซ่าสำหรับผู้หญิงชาวไทย
ผู้ชายชาวอังกฤษเรียกร้องให้คู่รักชาวอังกฤษ-ไทยรวมตัวกันเพื่อสร้างการเชื่อมต่อในการยืนหยัดต่อสู้เพื่อสิทธิของคู่รักชาวอังกฤษ-ไทยที่ใช้ชีวิตและทำงานอยู่ในสหราชอาณาจักร
โรเบิร์ต แลงก์ลี่ย์ ชาวอังกฤษจาก Bristol อายุ 44 ปีอยู่ในระหว่างการขอวีซ่าให้แก่ภรรยาชาวไทยอายุ 32 ปีของเขา ณัชชา ดุรงค์เทพ เพื่อให้มาอยู่กับเขาที่ประเทศอังกฤษ นายแลงก์ลี่ย์รู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งกับขั้นตอนการดำเนินการตรวจคนเข้าเมือง และอ้างว่า
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแห่งสหราชอาณาจักรกำลังใช้ทัศนคติที่ไม่ค่อยดีนักเพื่อพยายามขัดขวางสถานการณ์ที่ประชากรชาวอังกฤษแต่งงานกับผู้หญิงไทย นายแลงก์ลี่ย์อยู่ในขั้นตอนการยื่นขอเป็นครั้งที่สองหรือยื่นอุทธรณ์หลังจากการยื่นขอพิจารณาในครั้งแรกของเขาถูกปฏิเสธเนื่องจาก
เขาให้ข้อมูลที่ไม่เพียงพอต่อข้อกำหนดรายได้ซึ่งรัฐบาลสหราชอาณาจักรเริ่มบังคับใช้เมื่อปี 2553 'ผมคิดเลยว่าผู้ชายอังกฤษและผู้หญิงไทยเป็นเป้านิ่งให้รัฐบาลโจมตี และทำให้มันดูเหมือนกับว่า
พวกเขากำลังดำเนินงานอะไรสักอย่างเกี่ยวกับการเข้าประเทศ เมื่อตอนที่ดูเหมือนว่าทุกคนและป้าของเขาสามารถมาที่อังกฤษอย่างผิดกฎหมายและเรียกร้องสิทธิมนุษยชนได้'
การรอคอยวีซ่าสร้างความตึงเครียดให้แก่ความสัมพันธ์กับคู่รักชาวไทย
โรเบิร์ต แลงก์ลี่ย์พบกับคู่หมั้นชาวไทยของเขาสามปีที่แล้ว และเขายอมรับว่าสถานการณ์ปัจจุบันกำลังทำให้ความสัมพันธ์ของเขาตึงเครียด 'ผมคิดว่าผมกำลังโดนกลั่นแกล้ง และรัฐบาลอังกฤษควรพิจารณาการจัดลำดับความสำคัญด้วย เมื่อ 9 เดือนที่แล้วผมยื่น
เอกสารทั้งหมดไปแล้วตอนอยู่กรุงเทพฯ และหลังจากนั้นสองเดือนทางการก็บอกให้ผมยื่นเอกสารทั้งหมดอีกครั้งในประเทศอังกฤษ ผมว่านี่มันมากเกินไป และตอนที่คุณเห็นพวกเขาส่งผู้หญิงไทยกลับประเทศทั้งที่พวกเธออยู่ที่นี่และเสียภาษีให้ที่นี่
มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว มันทำให้คุณคิดว่าต้องมีอะไรผิดปกติเกี่ยวกับระบบแน่ ๆ โดยเฉพาะเมื่อคุณเกิดที่อังกฤษ และมันก็แค่ว่าแฟนหรือภรรยาของคุณดันเป็นคนไทยเท่านั้นเอง โรเบิร์ตกำลังกล่าวถึงการถูกขับออกนอกประเทศของนางจิราพร โดอิดจ์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2558
จาก Plymouth
ผู้หญิงไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ในสหราชอาณาจักรเป็นเวลาเจ็ดปีถูกขับออกนอกประเทศ
นางจิราพร โดอิดจ์ ผู้หญิงไทยคนหนึ่งที่แต่งงานกับผู้ชายชาวอังกฤษ อาศัยอยู่ใน Plymouth เป็นเวลาเจ็ดปีจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 โดยทำงาน จ่ายภาษี และพยายามทุกวิถีทางที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดวีซ่าที่เข้มงวดมากขึ้น
ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองประเทศอังกฤษนำมาใช้เมื่อปี 2553 เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองบอกกับเธอว่าเธอจะต้องถูกขับออกนอกประเทศในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 ก่อนวันวาเลนไทน์หนึ่งวัน เนื่องจากเธอไม่ประสบความสำเร็จในการจัดหาคุณวุฒิการใช้ภาษาอังกฤษที่ทางการกำหนดไว้ได้อย่างพอเพียง
ที่จะให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองพิจารณาต่อเวลาการอยู่อาศัยที่สหราชอาณาจักรร่วมกับสามีชาวอังกฤษของเธอต่อไปได้ ฟิล โดอิดจ์สามีของเธอวัย 54 จาก Plymouth ได้พบกับเธอและแต่งงานกับนางจิราพรในประเทศไทยเมื่อปี 2551
การยื่นขอต่ออายุวีซ่าอย่างซ้ำ ๆ ให้ผลในการปฏิเสธที่น่าตกใจสำหรับภรรยาชาวไทย
ความตกใจเกี่ยวกับสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออกของนางจิราพรเกิดขึ้นในปี 2556 หลังจากที่เธอได้ยื่นเรื่องขอต่ออายุวีซ่า ในการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งกับ Plymouth Herald นิตยสารท้องถิ่นรายหนึ่งซึ่งเลือกกรณีของจิราพรขึ้นมานี้ ฟิลนึกถึงช่วงเวลาที่เขาได้รับทราบข่าวร้าย
ว่าภรรยาของเขาจำเป็นต้องออกไปจากสหราชอาณาจักรและการยื่นขอวีซ่าของเธอถูกปฏิเสธ 'ผมจะไม่มีทางลืมได้เลย ตอนนั้ผมคิดไม่ออกเลยว่าผมจะบอกเธอยังไงดีว่าพวกเขาไม่ให้วีซ่ากับเธอ' นายโดอิดจ์จัดทำโครงการทางกฎหมายที่ต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อ
ให้คำวินิจฉัยถูกยกเลิก แต่การอุทธรณ์แต่ละครั้งก็ถูกปฏิเสธทั้งหมด ปัญหาสำหรับนางจิราพรเกิดมาจากเมื่อตอนที่เธอสมัครเข้าโรงเรียนภาษานานาชาติใน Plymouth และผ่านการสอบในทักษะภาษาอังกฤษที่จำเป็นที่โรงเรียนจัดขึ้นแล้ว โชคร้ายที่
นี่มิใช่การสอบภาษาอังกฤษเฉพาะที่จัดทำโดย UK Borders Agency หน่วยงานดังกล่าวและสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองร้องขอการสอบภาษาแบบ City and Guilds เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์กำหนดในการต่ออายุวีซ่าออกไป ตามมาด้วยการตัดสินใจ
ไม่อนุญาตวีซ่าของจิราพรในปี 2556 ฟิลสามีของเธอได้สมัครคอร์สเรียนให้เธอเพิ่มอีกหนึ่งคอร์ส และเธอก็สามารถผ่านการสอบนั้นได้อย่างประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นการสอบที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ ของทางการ อย่างไรก็ตามสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแห่งสหราชอาณาจักรก็ยังคงปฏิเสธที่จะทบทวน
การตัดสินใจเดิม และยืนยันว่าภรรยาชาวไทยของนายโดอิดจ์จะต้องถูกขับออกนอกประเทศ
สัญญาณเตือนถึงผู้ชายอังกฤษที่มีภรรยาหรือคู่รักชาวไทยในสหราชอาณาจักร
นายโรเบิร์ต แลงก์ลี่ย์ที่พักอยู่ใน Bristol ผู้ซึ่งยังไม่เคยได้พูดคุยหรือพบกับครอบครัวโดอิดจ์ได้กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นควรถือเป็นสัญญาณเตือนถึงผู้ชายชาวอังกฤษที่มีภรรยาชาวไทย และไม่สามารถทำความเข้าใจได้ว่าเพราะเหตุใดจึงมีการปล่อยให้สถานการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นได้ 'ผมอ่านข่าวนี้ทาง
หนังสือพิมพ์ มันทำให้ผมตกใจมากที่คู่รักคู่หนึ่งที่เป็นคนอังกฤษกับภรรยาคนไทย เธอเป็นภรรยาของประชากรชาวอังกฤษนะแต่กลับต้องถูกแยกออกจากกันแบบนี้ แม้ว่าคนทั้งคู่จะได้พยายามทำทุกอย่างที่เป็นไปได้เพื่อปฏิบัติตามกฎหมายแล้วก็ตาม'
ผู้จัดการของศูนย์ภาษาใน Plymouth ที่จัดคอร์สเรียนภาษาอังกฤษและการสอบภาษาอังกฤษให้แก่นางจิราพรซึ่งสุดท้ายแล้วถูกปฏิเสธจากทางการ เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ Plymouth Herald ใน Plymouth ว่า
มีผู้เข้าประเทศประสบปัญหาเช่นเดียวกันนี้อยู่หลายราย
อคติต่อผู้หญิงไทยในบางภาคส่วน
นายแลงก์ลี่ย์รู้สึกว่าผู้คนภายในสหราชอาณาจักรมีอคติอยู่ในใจ และโดยเฉพาะในกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่มีอคติต่อผู้หญิงไทย 'ผมอ่านเจอว่าผู้ชายคนนั้นต้องจ่ายเงินไปทั้งหมด
$7,000 กับขั้นตอนต่าง ๆ และจากกรณีของผมเองนี่ผมนึกออกเลยว่าคู่รักคู่นี้ต้องเผชิญความเจ็บปวดมากแค่ไหน ผมคิดว่าผู้คนไม่เข้าใจถึงความรู้สึกของการถูกปฏิเสธเมื่อหน่วยงานของรัฐมาบอกคุณว่าคุณไม่สามารถจะอยู่กับภรรยาของคุณได้ มันยิ่ง
น่าโมโหมากขึ้นเมื่อคุณมองไปรอบ ๆ แล้วเห็นการเข้าประเทศอังกฤษอย่างผิดกฎหมายยังคงมีอยู่ทั่วไปหมด'
ไม่เพียงแต่กฎหมายและจิตวิญญาณของกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรายละเอียดของกฎหมายวีซ่าสหราชอาณาจักรด้วย
คาร์ล่า บุญคง นักวิจารณ์ในกรุงเทพฯ ศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์ของผู้หญิงไทยในสหราชอาณาจักรและยุโรปโดยเฉพาะ และขณะนี้กำลังปฏิบัติงานในการศึกษาวิจัยโครงการผู้หญิงไทยในออสเตรเลีย เธอกล่าวว่าเรื่องราวของฟิลและนางจิราพร
โดอิดจ์ ชายชาวอังกฤษและภรรยาชาวไทยของเขาจะต้องเป็นการเตือนให้ผู้ชายชาวอังกฤษและผู้หญิงไทยทั้งหมดเริ่มดำเนินการในความสัมพันธ์ของพวกเขาร่วมกัน 'คำแนะนำที่มีมาตลอดของดิฉันต่อผู้หญิงไทยและใครก็ตามที่เกี่ยวข้องในความสัมพันธ์ที่ยอดเยี่ยมเช่นนี้ ก็คือ
อย่าลืมที่จะปฏิบัติตามกฎหมายและจิตวิญญาณของกฎหมายด้วย แต่เมื่อดูจากเหตุการณ์เหล่านี้แล้ว แม้ว่าจะมีการปฏิบัติตามจิตวิญญาณของกฎหมายแล้วก็ยังไม่เพียงพอ มาตรฐานที่ทางการของสหราชอาณาจักรตั้งขึ้นนี้เกือบเป็นปรปักษ์และเลือกปฏิบัติต่อ
ผู้หญิงไทยและคู่รักชาวอังกฤษของพวกเธอ เพื่อให้แน่ใจว่ารายละเอียดทุกอย่างของข้อจำกัดการเข้าเมืองถูกศึกษา และตรงกับข้อกำหนดทุกข้อในทุกตัวอักษรของกฎหมายนั้น'
ภรรยาชาวไทยของเกษตรกรชาวไอริชถูกปฏิเสธการเข้าสหราชอาณาจักร
คาร์ล่าชี้ให้เห็นว่าข้อจำกัดการเข้าประเทศที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรนำมาใช้หลังจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมขึ้นมาครองอำนาจในปี 2553 ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทยและอังกฤษมากมาย ในปี 2554 ThaiLoveLines รายงานเรื่องราวของยูจีน
แมคเอลรอย เกษตรกรชาวไอริชเหนือที่ภรรยาชาวไทยของเขา นางเสาวนิตย์ ถูกปฏิเสธการกลับเข้าสหราชอาณาจักรหลังจากที่เธอเดินทางกลับมาประเทศไทยเพื่อร่วมงานศพมารดา ภรรยาชาวไทยของนายแมคเอลรอยถูกปฏิเสธเนื่องมาจากรายได้ของเขานั้นขาดไป $4.65
ของข้อกำหนดรายได้ที่ทางการสหราชอาณาจักรตั้งไว้ นี่เป็นข้อจำกัดเดียวกันกับที่ก่อให้เกิดความยากลำบากแก่นายโรเบิร์ต แลงก์ลี่ย์ใน Bristol ที่กำลังเจ็บปวดจากความพยายามของภรรยาชาวไทยของเขาที่จะมาใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันในสหราชอาณาจักร 'ผมยอมรับว่า ในขั้นนี้
ผมกำลังเผชิญกับความรู้สึกต่าง ๆ มากมาย มีหลายวันที่ผมต้องพยายามปลอบใจตัวเอง ผมเข้าใจว่าหลายคนในสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพียงแค่ทำงานของพวกเขาเท่านั้น แต่สำหรับผมแล้วบางครั้งมันไม่รู้สึกแบบนั้นนะ สำหรับผมบางครั้งมันเหมือน
เป็นสงครามหรือโครงการอะไรสักอย่างที่ทำขึ้นเพื่อต่อต้านผู้หญิงไทยและผู้ชายชาวอังกฤษที่เพียงแค่ต้องการอยากจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน สิ่งที่ผมไม่สามารถทำความเข้าใจได้เลยก็คือเพราะอะไรประชากรของอังกฤษจึงไม่สามารถนำภรรยาของเขาเองมาอยู่ในสหราชอาณาจักรได้ ผมเคยคิดอยู่เสมอว่าภรรยาของคนอังกฤษ
ก็สามารถเป็นประชากรอังกฤษได้ มันเปลี่ยนไปตั้งแต่เมื่อไรกัน พูดตามตรงนะ ผมรู้สึกว่าสิทธิในการเป็นคนอังกฤษของผมกำลังถูกละเมิด และผมคิดว่าผู้คนควรยืนหยัดร่วมกันและทำบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้แล้ว'
ผู้ชายไอริชเล่าให้หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งได้รับทราบความเจ็บปวดของการแยกจากกับภรรยาชาวไทยของเขา
ในปี 2554 ยูจีน แมคเอลรอยอธิบายถึงความยากลำบากและความเจ็บปวดที่เขารู้สึกหลังจากได้รับการตัดสินใจจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง นายแมคเอลรอยบอกกับหนังสือพิมพ์ไอริชอันดับหนึ่ง The Irish Independent ว่าเขามีที่ดิน 50 เอเคอร์ มีปศุสัตว์ และไม่มี
หนี้จำนองเลย แต่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมิได้เห็นความสำคัญในเรื่องนี้แต่อย่างใด 'กฎระเบียบอันบ้าบอของพวกเขากำลังขัดขวางผมจากการได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้หญิงที่ผมรัก ผู้ชายชาวไอริชรายนี้บอกกับหนังสือพิมพ์ว่าเขาได้รับสายจาก
ภรรยาชาวไทยของเขา นางเสาวนิตย์ ซึ่งร้องไห้กับเขาทางโทรศัพท์หลังจากที่ไม่ได้รับอนุญาตให้กลับเข้าสหราชอาณาจักร ชายชาวไอริชพบกับภรรยาของเขาในปี 2549 และแต่งงานกันในอีกสองเดือนให้หลัง เขาอธิบายถึงความสัมพันธ์ของทั้งคู่ว่า 'มีความสุขตลอดเวลาที่อยู่ด้วยกัน' และ
ยังบอกกับหนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวด้วยว่า นางเสาวนิตย์คอยดูแลมารดาของเขาก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตด้วย
ถึงแม้จะมีเหตุการณ์เช่นนี้ แต่ความสัมพันธ์ของคู่รักอังกฤษ-ไทยยังคงเป็นไปด้วยดีและราบรื่น
อลิสัน เดอวอร์ เป็นนักวิจัยที่จัดทำการวิจัยระดับปริญญาโทเกี่ยวกับผู้หญิงไทยในสหราชอาณาจักรที่มีคู่รักชาวอังกฤษที่อยู่ในสหราชอาณาจักรในปี 2555 เธอกำลังปฏิบัติงานการวิจัยในหัวข้อของการเชื่อมต่อระหว่างความโดดเดี่ยวและสุขภาพจิต
เธอเชื่อว่าปัจจัยทั้งสองข้อนั้นเกี่ยวข้องกัน 'ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายอังกฤษและผู้หญิงไทยนั้นเป็นความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งมาก ๆ มันเป็นผลสรุปที่น่าประหลาดใจของการวิจัยในปี 2554' เธอกล่าว อลิสัน ผู้ที่ตอนแรกที่รับมอบหมายงานวิจัยชิ้นนี้ยังมีความกังขา
ในความสัมพันธ์อังกฤษ-ไทยและจำนวนภรรยาชาวไทยที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น เธอพบว่าความคิดของเธอเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากความอบอุ่นและความรู้สึกดีที่เธอได้ประสบในระหว่างการทำวิจัยของเธอ งานวิจัยชิ้นนี้เกี่ยวข้องกับ
การสัมภาษณ์ตัวต่อตัวกับคู่รักชาวอังกฤษ-ไทยทั่วประเทศ เธอกล่าวว่าเรื่องราวของฟิลและนางจิราพร โดอิดจ์นั้นเน้นให้เห็นถึงสถานะที่แท้จริงของความสัมพันธ์เหล่านี้ เธอเห็นด้วยว่ามีอคติอยู่จริงในประเทศอังกฤษเกี่ยวกับ
ผู้หญิงไทย 'ดิฉันคิดว่ามีภาพล้อเลียนหรือภาพพจน์เหมารวมของผู้หญิงเซ็กซี่ชาวไทยติ๊งต๊อง และเช่นเดียวกับที่ดิฉันชี้ให้เห็นก่อนหน้านี้ สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของการค้ามนุษย์ซึ่งโชคร้ายที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับเรื่องราวในแง่บวกของภรรยาชาวไทย
ในสหราชอาณาจักร และความสัมพันธ์อังกฤษ-ไทย จากเรื่องราวของผู้หญิงไทยใน Plymouth และสามีชาวอังกฤษของเธอแสดงออกมา ความสัมพันธ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่เพียงแต่เข้มแข็งมากเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างให้แก่สังคมอีกด้วย'
ภรรยาชาวไทยไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เมื่อเธอมาถึงที่ Plymouth
ฟิล โดอิดจ์พบกับจิราพรที่ประเทศไทยในปี 2551 และต่อมาภายหลังในปีนั้นทั้งสองคนก็แต่งงานกัน เมื่อตอนที่ทั้งคู่เจอกันครั้งแรก นายโดอิดจ์บอกกับหนังสือพิมพ์ Plymouth Herald ว่านางจิราพรไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ แต่เมื่อมาถึงที่ประเทศอังกฤษ นายโดอิดจ์ได้จัดหา
คอร์สภาษาอังกฤษให้เธอ และซื้อดิกชันนารีไทย-อังกฤษเพื่อให้เธอใช้เป็นหนึ่งในขั้นตอนการฝึกเพื่อให้คุ้นเคยกับภาษาอังกฤษ กฎข้อบังคับใหม่ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองนำมาใช้นั้นร้องขอให้ผู้เข้าประเทศต้องปรับตัวกับวัฒนธรรมและ
ประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร และต้องมีคุณวุฒิภาษาอังกฤษด้วย ในการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งกับหนังสือพิมพ์ Plymouth Herald นายโดอิดจ์บอกกับผู้สื่อข่าวว่าภรรยาของเขาทำสิ่งที่ สหราชอาณาจักรขอให้เธอทำ ทุกอย่างแล้ว
ภรรยาชาวไทยได้งานในอังกฤษภายในสองเดือน
นางจิราพรยังประสบความสำเร็จในการหางานภายใน 2 เดือนหลังจากที่ไปถึงที่สหราชอาณาจักรอีกด้วย โดยเธอทำงานที่ Burts Crisps ใน Plymouth ที่ซึ่งเธอได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นพนักงานที่มีคุณค่ามากอีกคนหนึ่งของบริษัท ภายใต้กฎข้อบังคับการเข้าประเทศของสหราชอาณาจักร ภรรยาหรือ
คู่ชีวิตชาวไทยจะได้รับวีซ่าเพื่ออยู่และทำงานในประเทศได้เป็นเวลาสองปี และจะต้องมีการต่ออายุวีซ่าในภายหลังหากมิได้ยื่นขอสถานะผู้อยู่อาศัยถาวรหรือสถานะประชากร 'ดิฉันคิดว่าเป้าหมายของคู่รักชาวอังกฤษ-ไทยจะต้องเป็นการได้รับสถานะประชากรของ
ผู้หญิงหรือภรรยาชาวไทยโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นี่เป็นค่านิยมล่าสุดโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ซึ่งเส้นทางของการเป็นประชากรนั้นค่อนข้างทันสมัย' คาร์ล่า บุญคงกล่าว เธอเป็นนักวิจารณ์ในกรุงเทพฯ ผู้ให้คำแนะนำผู้หญิงชาวไทย
การยื่นขอต่ออายุวีซ่าในสหราชอาณาจักรนำไปสู่การขับภรรยาชาวไทยออกนอกประเทศ
นางจิราพร โดอิดจ์และสามีของเธอยื่นขอต่ออายุวีซ่าเดิมในปี 2555 ออกไป ทั้งคู่คิดว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุกประการแล้ว อย่างไรก็ตาม ในปี 2556 นายโดอิดจ์
เปิดจดหมายฉบับหนึ่งออก และพบว่าการยื่นขอต่ออายุวีซ่าของภรรยาของเขานั้นถูกปฏิเสธ เนื่องจากว่าคุณวุฒิภาษาอังกฤษที่เธอได้รับนั้นมิใช่แบบที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนดไว้
มันเป็นจุดเริ่มต้นของฝันร้ายสำหรับฟิล โดอิดจ์และนางจิราพรซึ่งได้ทำการอุทธรณ์และมีการเคลื่อนไหวทางกฎหมายมากมายเพื่อยืดระยะเวลาการอยู่อาศัยในสหราชอาณาจักรของเธอต่อไป และสิ้นสุดลงด้วยคำสั่งการขับออกนอกประเทศสำหรับภรรยาชาวไทยให้เดินทางออกจาก
สหราชอาณาจักรภายในวันก่อนวาเลนไทน์ในปี 2558
โครงการและการสนับสนุนการเผยแพร่เรื่องราวของภรรยาชาวไทยจากสมาชิกรัฐสภาพรรคแรงงาน
ฟิล โดอิดจ์และภรรยาของเขาเริ่มโครงการเผยแพร่เรื่องราวนี้อย่างกว้างขวาง เพื่อเน้นให้เห็นถึงสิ่งที่เธอต้องเจอซึ่งได้รับความสนใจจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นใน Plymouth นั่นคือ Plymouth Herald หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นชื่อดังนี้เปิดเผยเรื่องราว
อุปสรรคที่คู่รักนี้ต้องเผชิญเพื่อที่จะได้อยู่ด้วยกัน ในบทความหนึ่ง หนังสือพิมพ์สัมภาษณ์นายจอห์น โจเซฟ ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของ Burts Crisps ใน Plymouth นายจ้างของนางจิราพร เขาบอกกับหนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวว่าเขากำลังต้องสูญเสียบุคลากรที่มีค่าคนหนึ่งของบริษัทไป
และเขาไม่มีทางเลือกใด ๆ ที่จะทำได้เลย 'เราจำเป็นต้องเคารพกฎหมายของประเทศ แต่เรารู้สึกแย่มากที่ต้องปล่อยเธอไปแบบนี้' นายโจเซฟกล่าว หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักที่ครอบครัวโดอิดจ์เลือกคือ อดีตสมาชิกรัฐสภาพรรคแรงงานของ
Plymouth อลิสัน ซีเบค ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในความพยายามของนายโดอิดจ์ที่จะไม่พรากจากกับภรรยาชาวไทยของเขา สมาชิกรัฐสภาของพรรคแรงงานท่านนี้ได้อธิบายถึงคู่รักคู่นี้ว่า 'มีความใกล้ชิดกันอย่างมาก' และอธิบายถึงความสัมพันธ์ว่า มีความยั่งยืน ในจดหมายถึง
หน่วยงาน Home Office และโดยเฉพาะต่อเลขาธิการเทเรซ่า เมย์ ทั้งคู่ยังเข้าร่วมการประชุมของโครงการร่วมกับนายเอ็ด มิลิแบนด์ สมาชิกรัฐสภาอดีตหัวหน้าพรรคแรงงานในระหว่างแคมเปญการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปี 2558 ด้วย สุดท้ายแล้ว นายมิลิแบนด์
แพ้การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2558 หนึ่งในข้อปัญหาสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งนั่นก็คือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าประเทศทั่วสหราชอาณาจักร ในการประชุมร่วมกับนายเอ็ด มิลิแบนด์ นั้น
นายฟิล โดอิดจ์ได้บอกผู้นำพรรคแรงงานว่าเขามีเวลาเหลือเพียงสองสัปดาห์เท่านั้นก่อนที่ภรรยาของเขาจะต้องออกจากอังกฤษ ในระหว่างการยื่นคำร้องต่อหัวหน้าพรรคแรงงานนั้น ภรรยาชาวไทยของเขาไม่สามารถควบคุมความรู้สึกของตนเองไว้ได้ และผู้นำพรรคแรงงานได้เห็นความเจ็บปวดที่คู่รักคู่นี้
กำลังเผชิญอยู่
แม้ว่าจะได้รับคุณวุฒิภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง ภรรยาชาวไทยก็ต้องจากไปด้วยน้ำตา
ตามจริงแล้ว นางจิราพร โดอิดจ์ได้เข้าทำการสอบใหม่โดยเป็นการสอบตามที่ Home Office กำหนดเพื่อให้วีซ่าของเธอได้รับการต่ออายุ และเธอก็ได้รับคุณวุฒิที่ตรงตามที่รัฐต้องการ อย่างไรก็ตาม สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองปฏิเสธที่จะทบทวนการตัดสินใจเดิมและยืนยันให้
ผู้หญิงไทยรายนี้ถูกส่งตัวกลับสู่ครอบครัวของเธอที่กรุงเทพฯ กรณีของครอบครัวโดอิดจ์นี้ได้รับการพิจารณาเป็นส่วนบุคคลโดยเทเรซ่า เมย์ เลขาธิการ UK Home Secretary ผู้ซึ่งสนับสนุนการตัดสินใจของทางการ แม้จะมีความพยายามที่จะจัด
การอุทธรณ์ร้องทุกข์ไปยังรัฐบาลสหราชอาณาจักรซึ่งได้รับการลงชื่อมากกว่า 250 รายชื่อจากผู้คนในเขต Plymouth แล้วก็ตาม นางจิราพร โดอิดจ์ถูกบังคับให้เดินทางพร้อมกับสามีชาวอังกฤษของเธอทางรถประจำทางไปยังสนามบิน Heathrow ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 และในตอนเช้ามืดของวันรุ่งขึ้น
เธอจะต้องเดินทางโดยเครื่องบินเพื่อกลับสู่ประเทศไทย การพบปะกับผู้สื่อข่าวก่อนการเดินทางออกนอกประเทศของเธอจาก Plymouth ภรรยาสาวชาวไทยมีท่าทีเสียใจอย่างเห็นได้ชัดและร่ำไห้ตลอดเวลา นายโดอิดจ์บอกกับผู้สื่อข่าวว่าเป็นเพราะเขาต้องเดินทางด้วยรถประจำทางกับภรรยาของเขา
เขาจึงมีช่วงเวลาที่สั้นมากที่จะร่ำลาเธอที่สนามบิน เพราะเขาต้องรีบขึ้นรถประจำทางเที่ยวต่อไปเพื่อกลับบ้านที่ Plymouth
ตอนจบที่มีความสุขสำหรับชายชาวอังกฤษและภรรยาชาวไทยหลังจากอุปสรรคที่ยาวนาน
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของนายโดอิดจ์และภรรยาชาวไทยของเขาก็ได้รับตอนจบที่มีความสุข แม้ว่าพวกเขาต้องโชคร้ายที่ถูกปฏิเสธวีซ่าไป ซึ่งทำให้ตกอยู่ในสภาวะเครียดและมีค่าใช้จ่ายทางกฎหมายสูงมากเป็นเวลาสองปี
แม้จะปฏิบัติตามกฎหมายในสหราชอาณาจักร จนถึงขั้นสุดท้ายที่นางจิราพรเดินทางออกนอกประเทศไทยด้วยตนเองเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558
เมื่อผู้หญิงไทยอยู่บนเครื่องบินขณะกลับสู่ประเทศไทย มีจดหมายฉบับหนึ่งจากอดีตสมาชิกรัฐสภา อลิสัน ซีเบค ไปถึงทูตอังกฤษ แสดงความสนับสนุนคนทั้งคู่ และแสดงถึงกรณีที่ร้ายแรงเป็นอย่างยิ่งสำหรับเธอเพื่อให้ได้รับอนุญาตต่ออายุวีซ่าใหม่เพื่อกลับเข้ามาในสหราชอาณาจักรได้ และได้กลับมาอยู่ร่วมกับ
สามีของเธออีกครั้ง นางจิราพร ภรรยาชาวไทยของประชากรชาวอังกฤษทำงานและเสียภาษีในสหราชอาณาจักรมาเกือบเจ็ดปี และเป็นสมาชิกบุคลากรที่มีคุณค่าต่อบริษัทที่เธอทำงานอยู่ คู่รักชาวอังกฤษ-ไทยคาดว่า
จะต้องแยกจากกันอาจเป็นเวลาถึงหกเดือน และมีการเตรียมการเพื่อติดต่อสื่อสารกันทาง Skype และในช่องทางอื่น ๆ นี่คือลักษณะทั่วไปของความสัมพันธ์ทางไกลระยะยาวระหว่างไทยและอังกฤษในศตวรรษที่ 21 หนังสือพิมพ์ Plymouth Herald
เปิดเผยเรื่องราวที่แสดงให้เห็นนางจิราพรผิวสีแทนกำลังผ่อนคลายในประเทศไทย มีรอยยิ้มและกำลังบอกกับหนังสือพิมพ์ว่าเธอคิดถึงฟิลสามีของเธอมาก และรอวันที่จะได้กลับไปอยู่ร่วมกันที่สหราชอาณาจักรอีกครั้ง ฟิล โดอิดจ์ยอมรับในสถานการณ์ดังกล่าวที่จะต้องแยกกันอยู่เป็นการชั่วคราว
และเขาชี้ว่านางจิราพรกำลังมีความสุขที่ได้ใช้เวลากับครอบครัวของเธอในประเทศไทยในอุณหภูมิ 42 องศาและสภาพอากาศที่แจ่มใส
สายโทรเข้าจากภรรยาชาวไทยที่กำลังตื่นเต้นบอกว่าเธอกำลังจะได้กลับบ้านที่อังกฤษ
ฟิล โดอิดจ์ตกใจมากเมื่อได้รับสายจากภรรยาชาวไทยที่กำลังตื่นเต้นมากของเขาเมื่อตอนตี 3 ของวันศุกร์ที่ 3 เมษายน ซึ่งเธอบอกว่าเธอได้รับการแจ้งว่า วีซ่าใหม่สำหรับเธอได้ผ่านการอนุมัติแล้ว และเธอสามารถเดินทางกลับเข้าสู่สหราชอาณาจักรได้ 'เธอชอบลืมเวลาที่ต่างกัน
อยู่ตลอดเลย' ฟิล โดอิดจ์ที่กำลังตื่นเต้นบอกกับ Plymouth Herald ต่อมาจึงมีการเตรียมการเพื่อผู้หญิงชาวไทยได้กลับสู่อังกฤษในวันที่ 21 เมษายน 2558
ผู้หญิงและภรรยาชาวไทยมากมายถูกขับออกจากสหราชอาณาจักร
คาร์ล่า บุญคงสังเกตว่า ในขณะที่เรื่องราวของนางจิราพร โดอิดจ์และสามีชาวอังกฤษของเธอจะจบลงด้วยดี แต่นั่นก็ยังห่างไกลกับความเป็นจริงในอีกหลายกรณี ที่บ่อยครั้งจะส่งผลให้คู่รักชาวอังกฤษ-ไทยต้องแยกจากกันเป็นเวลานาน และหลายคู่
อาจจะไม่ได้กลับมาเจอกันอีก 'ดิฉันคิดว่าเรื่องราวของประชากรชาวอังกฤษและภรรยาชาวไทยของเขามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากชายชาวอังกฤษรายนี้ได้ทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อรักษาชีวิตแต่งงานและความสัมพันธ์ของเขาเอาไว้จากสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นทัศนคติที่ใจร้ายเป็นอย่างมากของภาครัฐ ยังมี
คู่รักชาวอังกฤษและไทยอีกมากมายที่ไม่โชคดีแบบนี้ เราได้เห็นหลายเคสที่คู่รักหมดหนทางในการต่อสู้ โดยเฉพาะข้อกำหนดทางรายได้สำหรับสามีชาวอังกฤษที่มักจะถูกทบทวนอยู่บ่อยครั้ง คุณสามารถนึกภาพถึงความรู้สึกที่แสนเจ็บปวดที่
คู่รักเหล่านี้ต้องเผชิญได้เลย และในเวลาเดียวกันพวกเขาก็ต้องคอยรับมือกับความซับซ้อนของทางราชการและกฎระเบียบต่าง ๆ อีก แน่นอนว่ามันคงจะไปโกรธอะไรไม่ได้ แต่มันเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมเลยจริง ๆ พวกเขาได้ปฏิบัติตามกฎหมายการเข้าประเทศทุกอย่างแต่ยังคง
ต้องตกเป็นผู้เคราะห์ร้าย ดิฉันมีความรู้สึกว่ามีอคติจากรัฐในเรื่องนี้อยู่ ไม่เฉพาะต่อผู้หญิงไทยเท่านั้นนะคะ แต่ยังต่อผู้ชายชาวอังกฤษที่เกี่ยวข้องในความสัมพันธ์เหล่านี้ด้วย การเหมารวมที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีเป็นรากเหง้าของปัญหา และดิฉันเห็นสิ่งนี้อยู่ใน
ออสเตรเลียด้วย ทำให้ความสัมพันธ์ที่มีผู้หญิงไทยเกี่ยวข้องต้องตกเป็นเป้านิ่งของทางการไป' คาร์ล่า บุญคงกล่าว
ความกังวลสำหรับผู้หญิงไทยที่กำลังมองหาการแต่งงานหรือชีวิตใหม่ในสหราชอาณาจักร
เธอเน้นถึงข้อปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะ ซึ่งเรื่องราวของฟิลโดอิดจ์ และจิราพร โดอิดจ์ได้แสดงให้เห็น:
- ความล้มเหลวของภาครัฐในการทบทวนการตัดสินใจขับภรรยาชาวไทยออกนอกประเทศตามระเบียบวิธี: คาร์ล่า บุญคงเชื่อว่านี่ชี้ให้เห็นถึงทัศนคติแบบ ดันทุรัง ต่อประชากรชาวอังกฤษและภรรยาชาวต่างชาติ 'ดิฉันได้พูดคุยกับนักวิจัยบางคนเกี่ยวกับเรื่องนี้และพวกเขา
บอกดิฉันว่าทัศนคติแบบนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่กับผู้หญิงไทยเท่านั้น แต่ยังมีอคติเช่นนี้ต่อภรรยาชาวต่างชาติอื่น ๆ ของประชากรอังกฤษด้วย แต่จะมีทัศนคติที่รุนแรงต่อความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีเชื้อชาติแตกต่างกันเป็นพิเศษ และดิฉันต้องขอพูดเลยว่า นั่นต้องเป็นความสัมพันธ์อังกฤษ-ไทยแน่นอน'
- ความคิดเห็นส่วนตัวของเลขาธิการ UK Home Secretary: เทเรซ่า เมย์ เลขาธิการ UK Home Secretary มีความคิดเห็นส่วนตัวในกรณีของนางจิราพร โดอิดจ์ และปฏิเสธที่จะเพิกถอนการตัดสินใจโดยไม่พิจารณาข้อเท็จจริงว่า เมื่อมีคำสั่งให้เธอเดินทางออกนอกประเทศนั้น
นางจิราพร โดอิดจ์ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับการเข้าประเทศทุกอย่างแล้ว ในการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่งกับหนังสือพิมพ์ Plymouth Herald อดีตสมาชิกรัฐสภาของพรรคแรงงาน อลิสัน ซีเบค กล่าวว่าในตอนนั้นเธอ ค่อนข้างโกรธมาก กับการตัดสินใจของ เลขาธิการ Home Secretary
และการยืนยันที่จะขับภรรยาชาวไทยรายนี้ออกนอกประเทศ
- การยืนยันที่จะขับผู้หญิงชาวไทยออกนอกประเทศเกิดขึ้นในเวลาเดียวกับการเลือกตั้งในสหราชอาณาจักร ที่ซึ่งการเข้าเมืองได้ถูกวางเป็นหนึ่งในข้อปัญหาหลักในการเลือกตั้ง ในการสนับสนุนสำหรับพรรคเอกราชสหราชอาณาจักร
รัฐบาลอนุรักษ์นิยมในความร่วมมือกับพรรคแรงงานเมื่อปี 2553 ได้แนะนำมาตรการเพื่อลดการเข้าเมืองโดยเฉพาะตั้งเป้าไปที่การเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายหรือสิ่งที่นักวิจารณ์หลายท่านเรียกว่าเป้านิ่ง กรณีของนางจิราพร โดอิดจ์นั้น
เน้นให้เห็นถึงธรรมชาติอันเปราะบางของภรรยาชาวไทยในสหราชอาณาจักรต่อวิกฤตการเข้าเมืองที่ดำเนินอยู่ซึ่งในขณะนี้ได้ถูกเน้นเนื่องมาจากวิกฤตคนเข้าเมืองชาวยุโรปที่เป็นผลมาจากสงครามซีเรีย
ผู้ชายชาวอังกฤษและภรรยาชาวไทยแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งในความสัมพันธ์ของคนทั้งคู่
ในแง่บวก คาร์ล่า บุญคงเชื่อว่าความพยายามของผู้ชายชาวอังกฤษและภรรยาชาวไทยของเขาที่ต้องการจะรักษาและคงความสัมพันธ์ของพวกตนเอาไว้ให้ได้เป็นข้อความที่ทุกคนได้รับรู้เป็นวงกว้างเกี่ยวกับธรรมชาติของความสัมพันธ์อังกฤษ-ไทย และความผูกพันที่ใกล้ชิดกันเป็นอย่างยิ่งระหว่าง
คนทั้งคู่
อลิสัน เดอวอร์ นักวิจัยปริญญาโท ผู้ซึ่งสัมภาษณ์คู่รักชาวอังกฤษ-ไทยในปี 2555 เป็นจำนวนมาก กล่าวถึงขั้นตอนซึ่งเปลี่ยนมุมมองของเธอเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวจากแง่ลบไปสู่แง่บวกอย่างเต็มที่ 'คู่รักนี้เป็นตัวอย่างของคู่รัก
อังกฤษ-ไทยทุกคู่ พวกเขามีความใกล้ชิดกัน และเป็นผู้ที่มีความพยายามสูงมากจริง ๆ' เธอกล่าว
คาร์ล่า บุญคง สังเกตว่าสมาชิกรัฐสภาพรรคแรงงานที่สนับสนุนครอบครัวโดอิดจ์เสียที่นั่งของเธอไปในการเลือกตั้งปี 2558 และรู้สึกว่าบรรยากาศใหม่ที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการเข้าเมืองกำลังแสดงความท้าทายต่อผู้ชายอังกฤษที่มีภรรยาชาวไทยหรือ
คาดว่าจะมีภรรยาชาวไทยในอนาคต 'ดิฉันคิดว่า ผู้หญิงไทยและผู้ชายอังกฤษที่กำลังเริ่มต้นความสัมพันธ์ควรจะต้องเตรียมพร้อมที่จะทำหลาย ๆ อย่างมากกว่าที่จำเป็น พวกเขาจะต้องเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับกฎข้อบังคับเหล่านี้ นอกจากนี้ดิฉันยังคิดว่า
ชุมชนชาวอังกฤษ-ไทย ซึ่งยังมิได้รับการจัดการที่ดีเท่าใดนัก ควรมองหาวิธีในการเพิ่มเครือข่ายและโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่จุดยืนของพวกเขาด้วย
ภรรยาชาวไทย ผู้งดงาม เป็นหัวข้อความคิดเห็นดูหมิ่นทางออนไลน์
ในระหว่างโครงการเผยแพร่โดยหนังสือพิมพ์ Plymouth Herald ใน Plymouth สนับสนุนเหตุการณ์ของผู้ชายอังกฤษและภรรยาชาวไทยของเขาที่พยายามจะอยู่ด้วยกันในประเทศ คู่รักนี้กลายเป็นหัวข้อของการโต้เถียงทางออนไลน์ในหลายกระทู้
ส่วนนายฟิล โดอิดจ์เองรับทราบว่ามี ความคิดเห็นแย่ ๆ อยู่เช่นกัน แต่ชี้ให้เห็นว่าไม่มีใครรู้จักภรรยาชาวไทยของเขาได้ดีเท่ากับที่เขารู้จักเธอ 'เราเป็นคู่ที่มีความใกล้ชิดกันมาก ๆ เธอเป็นคนที่งดงามมาก' เขากล่าว